วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

16 ข้อปฎิบัติสำรวจความปลอดภัยบ้านเรือนหลังน้ำท่วม โดย รศ.ดร.อมร พิมานมาศ

          ตามติดด้วยอีกบทความช่วงฟื้นฟูบ้านหลังน้ำลดนะครับ "16 ข้อปฎิบัติสำรวจความปลอดภัยบ้านเรือนหลังน้ำท่วม" โดย รศ.ดร.อมร พิมานมาศ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ ท่านครับ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

24 ข้อควรรู้ฟื้นฟูบ้านหลังน้ำลด โดย ร.ศ.ดร. อมร พิมานมาศ

          คราวนี้จะขอเปลี่ยนแนวจากบทความป้องกันน้ำท่วมมาเป็นฟื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วมนะครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ท่าน


        Download File PDF ที่นี่!

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข้อแนะนำการป้องกันนิคม,บ้านจัดสรร จากน้ำท่วม โดย ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

         สวัสดีครับ ครั้งนี้ผมคงมาช้าไปมาก บทความนี้ออกมาเดือนกว่า ๆ แล้ว ต้องขออภัยด้วยครับ ผมนึกว่าผมเขียนไปแล้ว แต่วันก่อนนั่งเปิดดูบทความของตัวเองปรากฎว่าขาดหัวข้อนี้ไปครับ
      เอามาให้โหลดกันแล้ว หวังวาจะเป็นประโยชน์นะครับ


ข้อแนะนำการป้องกันนิคม,บ้านจัดสรร จากน้ำท่วม โดย ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ โหลดที่นี่!  

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แก้ปัญหาความชื้นในเครื่องปรับอากาศ

          สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมจะหายหน้าหายตาบ่อยสักหน่อย ถ้าผมตอบ E-mail หรือความเห็นของบางท่านช้าไปก็ขออภัยนะครับ ตอนนี้จังหวะงานเข้าเยอะนิดหน่อย เลยมีอะไรให้ทำวุ่น ๆ ทั้งวัน

          แต่ก็ดีครับ หากผมมีอะไรทำเยอะๆ ก็แปลว่าผมจะได้มีเรื่องราวมาเขียนให้ทุกคนได้รับรู้เยอะตามไปด้วยไงครับ

          เรื่องที่นำมาฝากวันนี้ขอเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศหรือที่มีชื่อเล่นว่าน้องแอร์ครับ จริง ๆ เรื่องนี้ไม่ได้เริ่มต้นจากงานก่อสร้างใด ๆ เลย แต่มันเริ่มมาจากที่ผมดันไม่เจียมตัว ขับรถเก๋งไปลุยน้ำที่ถนนบรมฯ สาย 388 (เส้น ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) เส้นที่ตัดผ่าน ม.มหิดลน่ะครับ แล้วผลก็คือ น้ำไหลเข้าท่วมภายในรถของผมสิครับ
          เรื่องยังไม่จบแค่นั้น พอผมซับน้ำออก ตากแดด จนแห้งแล้ว ผลที่ตามมาคือ ”ความชื้น” ครับ ความชื้นมันขังอยู่ในรถผม แล้วก็เข้าไปในแอร์รถด้วย ทำให้เวลาเปิดแอร์แล้วกลิ่นอับรุนแรงเหลือร้ายเลยทีเดียว
           แล้วผมจะทำอย่างไรดี? แน่นอนว่านิสัยอย่างผมก็ค้นหนังสือ เข้า google ถามช่างที่รู้จัก หาวิธีซ่อมด้วยตัวเองก่อนที่จะไปทำให้ช่างตามอู่ต่าง ๆ มีรายได้เพิ่ม

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ใครควบคุมงานก่อสร้าง??

          เป็นคำถามที่หลายต่อหลายท่านสงสัยและมีคนเคยถามผมเหมือนกันว่า การก่อสร้างบ้านสักหลัง ตามกฎหมายต้องมีใครคุม กี่คน และต้องเป็นอาชีพอะไร? โฟว์แมนเฉย ๆ ได้ไหม หรือว่าต้องเป็นวิศวกรเท่านั้น เรามาหาคำตอบกันเลยดีกว่าครับ (ผมจำไม่ได้แล้วว่าได้บทความมาจากไหนโหลดมาอ่านนานแล้วครับ)

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

10 ข้อแนะนำการก่อสร้างคันดินกันน้ำให้ถูกต้องตามมาตรฐาน โดย ดร.ศร.อมร พิมานมาศ

          สวัสดีครับ หลาย ๆ คนเห็นหัวข้อของบทความคงจะคิดกันว่าผมเอามาให้อ่านสายไปไหม เอ่อ.. ผมขอยอมรับครับ ว่าผมนำเสนอสายไปจริง ๆ แหละ ผมต้องขออภัยด้วยครับ
          แต่อย่างน้อย ก็เป็นความรู้สำหรับน้ำท่วมครั้งหน้าก็แล้วกันนะครั

โหลดบทความ คลิก

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ขอบเขตการทำงานของวิศวกรแต่ละระดับ วิศวกรก็มีระดับ มียศเหมือนกันนะ

         บทความที่จะเขียนในวันนี้ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นความรู้ทั่วไปที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว หรือเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ (เพราะผมเป็นคนในวงการ เลยรู้เรื่องนี้ติดตัวอยู่แล้ว) นั่นคือ วิศวกร เขามีลำดับขั้น เหมือนยศของทหาร,ตำรวจ หรือเหมือนการเลื่อนชันของพนักงาน (คำว่าอาชีพวิศวกรในบทความนี้ หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม นะครับ)
          ในที่นี้ผมขอพูดถึงวิศวกรโยธานะครับ ซึ่งเป็นสาขาเดียวที่ผมมีความรู้เพียงพอที่จะเขียนได้

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีอยู่กับน้ำท่วมของชาวบ้าน (ในเขตเมือง) โดยศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์

           หลังจากมวลน้ำก้อนใหญ่ไหลเข้า กทม. ได้ไม่นาน นักวิชาการแต่ละท่านก็เขียนบทความดี ๆ เกี่ยวกับวิธีป้องกันหรือแก้ไขน้ำท่วมออกมามากมาย
           ครั้งนี้ผมขอนำบทความของ ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ มาแนะนำให้ทุกท่าน ในหัวข้อเรื่อง "วิธีอยู่กับน้ำท่วมของชาวบ้าน (ในเขตเมือง)" หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะครับ

           โหลดบทความ คลิก

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

6 แนวทางกันน้ำท่วมเข้าบ้าน โดย รศ. ดร. อมร พิมานมาศ

          สวัสดีครับ ช่วงที่เราเจอวิกฤตน้ำท่วมอยู่ตอนนี้ ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมาหมาย ซึ่งทำให้ผมกลายเป็นแฟนบทความของ  รศ. ดร. อมร พิมานมาศ ไม่เสียแล้ว เนื่องจากท่านเขียนบทความดี ๆ เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ใกล้ตัวเรามาก เช่น การใช้ถุงทราย ข้อควรระวังในการสูบน้ำ เป็นต้น และครั้งนี้ก็เป็นบทความที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นไปอีก นั่นคือแนวทางป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้าน   สำหรับท่านใดที่ยังสุ่มเสี่ยงจะท่วมหรือไม่ท่วม สามารถนำไปใช้ได้ หรือใครสนใจอ่านเป็นความรู้ ก็ติดตามไปพร้อม ๆ กันเลยครับ


โหลดบทความไฟล์ PDF คลิก

มาทำความรู้จักและวิธีเลือกใช้ถังเก็บน้ำดีกันดีกว่า

          สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องถังเก็บน้ำดี บ้านเล็ก ๆ หลายหลังอาจจะๆไม่มีถังเก็บน้ำดี (เช่นบ้านที่ผมเช่าอยู่ในปัจจุบัน) ซึ่งใช้น้ำที่ต่อตรงจากท่อประปาเข้าบ้านเลย หรืออาคารที่ต้องใช้ปริมาณน้ำพร้อมกันคราวละมาก ๆ เช่น หอพัก ก็ควรมีถังเก็บน้ำไว้เช่นกัน 

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระวัง! การเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่มากเกินไปอาจเกิดอันตรายกับโครงสร้างได้ โดย รศ.ดร. อมร พิมานมาศ

          สวัสดีครับ วันนี้ผมขอนำบทความดี ๆ ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมแบบนี้ โดย  รศ.ดร. อมร พิมานมาศ
หากภายในบ้านของเรา แล้วเราเร่งสูบน้ำออกภายนอก บางทีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจทำให้บ้านพังเพราะความไม่สมดุลของแรงดันน้ำได้นะครับ 


          โหลดบทความนี้ คลิก