บทความที่จะเขียนในวันนี้ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นความรู้ทั่วไปที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว หรือเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ (เพราะผมเป็นคนในวงการ เลยรู้เรื่องนี้ติดตัวอยู่แล้ว) นั่นคือ วิศวกร เขามีลำดับขั้น เหมือนยศของทหาร,ตำรวจ หรือเหมือนการเลื่อนชันของพนักงาน (คำว่าอาชีพวิศวกรในบทความนี้ หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม นะครับ)
ระดับต่าง ๆ ของวิศวกรมีไว้ทำไม ? ก็มีไว้เพื่อนกำหนดขอบเขตความสามารถในการทำงานของวิศวกรคนนั้น ๆ ยังไงล่ะครับ ลองยกตัวอย่างดูนะครับ คงจะไม่ดีแน่ถ้าเราจะเอาวิศวกรจบใหม่ไม่ถึงปี มาออกแบบตึกร้อยชั้น จริงไหมล่ะครับ การจะออกแบบตึกร้อยชั้นก็จะต้องใช้วิศวกรที่มีประสบการณ์และความสามารถเพียงพอจริงไหมครับ เพราะฉะนั้นเจ้าระดับขั้นนี้เองเป็นตัวกำหนดขีดความสามารถของวิศวกรว่า วิศวกรคนคนนั้นมีสิทธิ์ทำอะไรได้บ้าง ออกแบบอาคารได้สูงแค่ไหน ความคุมงานก่อสร้างได้ใหญ่ขนาดไหน อะไรประมาณนี้แหละครับ
ระดับของวิศวกรจะมีอยู่ 4 ระดับ คือ ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร วุฒิวิศวกร และ ภาคีวิศวกรพิเศษ
ภาคีวิศวกร จะมีความหมายคล้าย ๆ กับวิศวกรฝึกหัด ก็คือผู้ที่จบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกคนต้องไปสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม ซึ่งจะได้ระดับแรกมาคือ ภาคีวิศวกร จึงจะถือว่าเป็นวิศวกรเต็มตัว วิธีสมัครสอบสามารถอ่านได้ในเว็บของสภาวิศวกรหน้าการขอใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร และดูการสมัครสอบจากบทความกว่าจะมาเป็นวิศวกรได้ในคลิบตัวสุดท้ายครับ
สามัญวิศวกร และ วุฒิวิศวกร เป็นวิศวกรที่มีประสบการณ์ทำงานมากขึ้นตามลำดับ (เป็นสามัญฯ ให้ได้ก่อนแล้วถึงจะเป็นวุฒิฯ ) โดยวิธีจะเลื่อนขั้นได้นั่นคือจะต้องมีประสบการณ์และคุณสมบัติตามที่กำหนดถึงจะไปสอบเลื่อนขั้นได้ วิธีการสอบเลื่อนขั้นสามารถอ่านได้จากเว็บสภาวิศวกร หน้าการขอเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกรและการขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร
ภาคีวิศวกร >>> สามัญ >>> วุฒิวิศวกร (ระดับสูงสุด)
สำหรับภาคีวิศวกรพิเศษนั้นก็พิเศษสมชื่อจริงๆ คือผู้ที่จะได้ใบอนุญาตนี้ ไม่จำเป็นต้องเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ก็ได้ แต่จะเป็นผู้ที่มีความสามารถและคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งก็จะเป็นภาคีวิศวกรพิเศษนั่นเองครับ โดยที่ความสามารถการทำงานของวิศวกรคนนี้จะระบุอยู่ที่ใบอนุญาตครับ ความสามารถจะจำกัดขอบเขตขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของวิศวกรท่านนั้น ๆ สามารถดูรายละเอียดได้ในเว็บของสภาวิศวกร หน้าการขอใบอนุญาติภาคีวิศวกรพิเศษ
โดยที่ความสามารถในการทำงานต่าง ๆ ของวิศวกรแต่ละจะระบุไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับสภาวิศวกร หน้า 23-26 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุมแต่ละระดับ ต้องการโหลดไปอ่าน คลิก
(เหมือนเกมส์ครับ ยิ่ง Level สูง ยิ่งมีความสามารถ (Skill) ต่าง ๆ เยอะตามไปด้วย)
(เหมือนเกมส์ครับ ยิ่ง Level สูง ยิ่งมีความสามารถ (Skill) ต่าง ๆ เยอะตามไปด้วย)
แต่บางทีอาจจะอ่านยากไปหน่อย ผมขอสรุปในตารางที่ผมได้มาจากเว็บของสภาวิศวกรนะครับ โหลดตาราง คลิก
(ผมขอยกมาแค่ตารางของสิ่งปลูกสร้าง 2 ชนิดคือ “อาคาร” และ “อาคารสาธารณะ” เท่านั้นนะครับ ส่วนที่เหลือ เช่น สะพาน ทางรถไฟ ขอให้ผู้อ่านโหลดไปอ่านเองนะครับ)
ในที่นี้จะมีปัญหาเล็ก ๆ ที่คนงงกันประจำนั่นคือ ถ้าสังเกตจากตารางแล้ว จะเห็นว่ามีอาคารอยู่สองประเภทคือ “อาคาร” และ “อาคารสาธารณะ” ปัญหามันอยู่ที่ภาคีวิศวกรครับ งานออกแบบของภาคีวิศวกรสามารถออกแบบ “อาคาร” ได้ในบางขนาด แต่ไม่สามารถออกแบบ “อาคารสาธารณะ” ได้เลย เราใช้เกณฑ์อะไรแบ่งแยก “อาคาร” และ “อาคาร” สาธารณะกัน? ผมก็ไปหาคำตอบมาจากเว็บของสภาวิศวกร จากหัวข้อกฎหมายและจรรยาบรรณมา ได้คำตอบดังนี้ครับ
อาคารสาธารณะคืออะไร มีตัวอย่างอะไรบ้างครับ [ โดย......สำนักกฎหมายและจรรยาบรรณ ] เกี่ยวกับความหมายของ “อาคารสาธารณะ” นั้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ให้ความหมายของคำว่า “อาคารสาธารณะ” หมายความว่า อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนได้โดยทั่วไป เพื่อกิจกรรมทางราชการ การเมือง การศึกษา การศาสนา การสังคม การนันทนาการหรือ การพาณิชยกรรม เช่น โรงมหรสพ หอประชุม โรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษา หอสมุด สนามกีฬากลางแจ้ง สถานกีฬาในร่ม ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานบริการ ท่าอากาศยาน อุโมงค์ สะพาน อาคารจอดรถ สถานีรถ ท่าจอดเรือ โป๊ะจอดเรือ สุสาน ณาปนสถาน ศาสนสถาน เป็นต้น หวังว่าบทความครั้งนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านนะครับ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น