รวบรวมเรื่องที่พบเจอมา เน้นเรื่องวิศวกรรมโยธา และบันทึกความรู้ต่างๆ ที่ศึกษาไว้
วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สถาปนิกกับวิศวกร แตกต่างกันอย่างไร?
สถาปนิก
ลองมาอ่านความแตกต่าง ที่ผมดึงจาก wikipedia ดูก่อนนะครับ ว่าจะรู้เรื่องไหม
สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิศวกร
วิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนนและระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.)
จาก http://th.wikipedia.org
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ่านแล้วก็ยัง งง อยู่ดี ไม่เข้าใจ? แล้วมันต่างกันยังไงฟระ เคยได้ยินกันบ่อย ไหมว่า
"ผมเป็น สถาปนิก ออกแบบอาคารหลังนี้"
"ผมเป็นวิศวกรออกแบบอาคารหลังนี้"
"ผมเป็นสถาปนิกควบคุมการก่อสร้างอาคารหลังนี้"
"ผมเป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างอาคารหลังนี้"
ตอนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย(ยุคผมเป็น Ent ธรรมดา) ข้อสอบก็ต่างกันราวฟ้ากับเหว ลองชิมข้อสอบทั้งสองคณะแล้ว คนละเรื่องเลย ความถนัดสถาปนิก มีทั้งวาดรูป วาดสะพาน วาดอาคาร แต่ความถนัดทางวิศวกรรม มี ฟิสิกส์ เคมี คณิต เต็มข้อสอบ เรียนจบมา ถ้าอยากทำงานออกแบบอาคาร หรือสร้างตึกถ้าทำงานเหมือน ๆ กัน จะเรียนวิศวะ ให้มันหนักหัวทำไม?? เข้าก็ยาก เรียนก็ยาก หรือเข้าเพราะมันดูคะแนนสูงดี เท่ห์ดี?? เงินดีกว่า(มั้ง)? โดยไม่รู้มันต่างกันตรงไหน.... เป็นอย่างนั้นกันหรือเปล่าครับ ผมคนนึงแหละที่เป็นอย่างนั้น ฮ่าๆ
แต่จะว่าไป ยุคนี้คงไม่ต้องกังวลเรื่องสอบเข้าแล้วมั้ง จะเรียนวิศวหรือเรียนสถาปนิก ก็ต้องรู้ว่า "ผ้าปูโต๊ะสีอะไร" หรือไม่ก็ "ไอ้นิด มันท้องได้ไง!"
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เข้าเรื่องๆ
หลังจากที่ผมคลุกคลีกับสายงานก่อสร้างมานานพอสมควร ผมก็ได้คำตอบสั้น ๆ ง่าย ๆ ให้บุคลทั่วไปเข้าใจ
สถาปนิกออกแบบ : ออกแบบ ให้มันสวย ใช้งานได้ตามที่เจ้าของต้องการ อยากให้เป็นทรงไทย โมเดิร์น เลกเก้ สกา มีลิพท์ตรงไหน บันไดตรงไหน กี่ขั้น กระเบื้องอะไร หินแกรนิต? ใช้สีอะไรดี? ฯลฯ ง่ายๆ คือ ให้มันสวย ขายได้ มี Option ตามที่ต้องการ และถูกกฎหมายอาคาร
วิศวกรออกแบบ : เอาแบบที่สถาปนิกออกแบบมานั้งคำนวน วิเคราะห์ ว่าทำยังไงให้อาคารหลังนั้น มันไม่พัง!
ดูความแข็งแรงของตึก ออกแบบจำนวนเหล็ก ขนาดเหล็ก ขนาดคาน ตำแหน่งคาน ขนาดพื้น ใช้พื้นระบบไหน (พื้นสำเร็จ พื้น คสล. พื้น POST ) ใช้คอนกรีตชนิดอะไร ฯลฯ
การควบคุมงานก็แยกเหมือนการออกแบบน่ะแหละครับ
สถาปนิกควบคุมการก่อสร้าง ให้มันสวย มี Option ตามต้องการ ถูกกฎหมายควบคุมอาคาร โดยเขียนออกมาเป็นแบบสถาปัตฯ
วิศวกรควบคุมงานก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม การเสริมเหล็ก การเทคอนกรีต ทำให้ตึกมันไม่พัง! ให้มันแข็งแรง! ซึ่งจะเขียนออกมาเป็นแบบวิศวกรรม
แบบสถาปัตฯก็เหมือนกับการกำหนดหน้าตา รูปร่าง และเกิดมาเพื่ออะไร
ส่วนแบบวิศวกรรมคือการกำหนดโครงกระดูก เพื่อให้ยืนอยู่ได้ อย่างแข็งแรง
ในการก่อสร้าง ต้องใช้ทั้งแบบสถาปัตฯและแบบวิศวกรรม ควบคู่กันไป
คราวนี้เข้าใจความแต่ต่างแล้วนะครับ ถ้า งง อะไรอีก ถามมาเลยนะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น