วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รวมคลิปสอนการวิเคราะโครงสร้างด้วยวิธีงานสมมุติ Structure Analysis Force Method : Virtual Work & Superposition



สวัสดีครับ!!!
ไม่ได้ Update Blog นานมากเลย เนื่องจากติดภารกิจก่อสร้างอาคาร 8 ชั้น โดยผมเป็นตำแหน่ง  Head สูงสุดของโครงการนี้ (ดูเหมือนโครงการเล็ก ๆ ที่ผมเคยทำตอนเรียนจบใหม่ ๆ แต่ตอนนั้นเป็นเพียง Site Eng ตัวเล็ก ๆ สามารถสร้างพร้อมกัน 3 แท่งแบบสบาย ๆ แต่วันนี้ ผมเป็น All in one  : วิศวกรรม การเงิน บัญชี ภาษี เงินลงทุน ฯลฯ อยู่ที่ผมคนเดียวหมด และยังเป็นวิศวกรสนามเองด้วยอีก โดยทำงานวันละราว ๆ 15-20 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน จนแทบลืมไปว่ามีภารกิจต้อง Update Blog อยู่... ต้องขออภัยผู้ที่ติดตามทุกท่านมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ)
ที่เกริ่นมาก็เพราะว่า หลังจากได้ผ่านประสบการณ์ All On One มาแล้วพบว่า  นอกจากทักษะการบริหารงานก่อสร้างที่เราควรมีแล้ว(อย่างมากแล้ว) การเป็น All In One ผมยังต้องใช้ ทักษะการออกแบบค่อนข้างสูงอีกด้วย! (วิศวกรที่อยู่หน้างานอย่างผม สมัยเป็น Site Engineer ไม่ได้แตะงานออกแบบเลย มีแต่บริหารงานก่อสร้างล้วน ๆ)
เพราะเมื่อเป็น All in one ปัญหาทุกอย่างต้องจบที่เรา ไม่ใช่แค่ปัญหาการก่อสร้าง แต่รวมถึงการแก้แบบ ออกแบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับหน้างาน หรือเพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง (จริง ๆ ต้องรับผิดชอบรวมถึงการเงิน วัสดุ สัญญา ฯลฯ แต่ไม่ขอกล่าวถึงก็แล้วกันครับ)
ซึ่งทักษะการออกแบบของผมก็เริ่มจางหายไปกับการเวลาแล้ว ผมจึงเลยต้องมาทวนใหม่เยอะเลย
ซึ่งวันนี้ผมอยากจะนำคลิป ที่ผมใช้ทวนเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธี Virtual Work มาแบ่งปันกันครับ
Virtual Work หรือ วิธีงานสมมุติ  เป็น วิธี/เทคนิคการ วิเคราะห์โครงสร้าง โดยใช้สำหรับหา Deflection ของโครงสร้าง และเมื่อใช้ประกอบกับวิธี Superposition เราก็สามารถใช้วิเคราะห์โครงสร้าง Indeterminate ได้อีกด้วย แจ่มมาก ๆ

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

เล่าสู่กันฟังหลังไปสอบรับราชการทหารอากาศ ตำแหน่ง นายทหารเทคนิคช่างโยธา, รองหัวหน้าฝ่ายสถิติและวิเคราะห์

   



     เมื่อวันที่ 06/04/2557 ผมได้ไปสอบเพื่อรับราชการทหาร ตำแหน่ง นายทหารเทคนิคช่างโยธา, รองหัวหน้าฝ่ายสถิติและวิเคราะห์ ของกองทัพอากาศ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ซึ่งเป็นตำแหน่งของชั้นสัญญาบัตร (แต่งตั้งยศเป็นว่าที่เรืออากาศตรี)  วันนี้ผมเลยอยากมาเล่าประสบการณ์ในห้องสอบ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจสอบในปีต่อไปครับ (การสอบจัดขึ้นปีละครั้ง)

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

เล่าสู่กันฟังหลังไปสอบปริญญาโท วิศวกรรมโยธาสาขาโครงสร้าง จุฬาฯ


     ก่อนหน้าที่ผมจะเข้าสอบ ผมพยายามหาระเบียบการสอบเป็นอย่างไร แนวข้อสอบ ต่าง ๆ ว่าควรเน้นย้ำอ่านอะไรตรงไหน ซึ่งหาในอินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย และผมก็เป็นคนต่างจังหวัด ไม่มีพรรคพวกหรือรุ่นพี่คนไหนได้ไปสอบที่นี่เลย (ถึงมี ผมก็ไม่รู้จัก เพราะเป็นส่วนน้อยมาก!)

  วันนี้ เพื่อเป็นการช่วยให้น้อง ๆ พี่ๆ หรือเพื่อน ๆ ผู้ที่คิดจะสอบเข้าคณะนี้สาขานี้ จะได้มีแนวทางในการเตรียมตัวบ้าง ไม่ใช่ไปตายเอาดาบหน้าอย่างผม (ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ให้เอาเครื่องคิดเลขเข้าได้หรือไม่ จะเป็นข้อสอบตัวเลือก , เติมคำ หรือแสดงวิธีทำ ไม่รู้เลย)