ก่อนหน้าที่ผมจะเข้าสอบ ผมพยายามหาระเบียบการสอบเป็นอย่างไร แนวข้อสอบ ต่าง ๆ ว่าควรเน้นย้ำอ่านอะไรตรงไหน ซึ่งหาในอินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย และผมก็เป็นคนต่างจังหวัด ไม่มีพรรคพวกหรือรุ่นพี่คนไหนได้ไปสอบที่นี่เลย (ถึงมี ผมก็ไม่รู้จัก เพราะเป็นส่วนน้อยมาก!)
วันนี้ เพื่อเป็นการช่วยให้น้อง ๆ พี่ๆ หรือเพื่อน ๆ ผู้ที่คิดจะสอบเข้าคณะนี้สาขานี้ จะได้มีแนวทางในการเตรียมตัวบ้าง ไม่ใช่ไปตายเอาดาบหน้าอย่างผม (ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ให้เอาเครื่องคิดเลขเข้าได้หรือไม่ จะเป็นข้อสอบตัวเลือก , เติมคำ หรือแสดงวิธีทำ ไม่รู้เลย)
ผมได้สมัครสอบเรียนต่อ ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2/04/2557 ซึ่งเป็นการสอบครั้งที่ 2/2557 (ปีนี้มีการสอบสามครั้ง)
ข้อสอบประกอบไปด้วย 3 วิชา ได้แก่ Mathematics , Strength of Materials , Structural Analysis and Design ซึ่งใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง
เรื่องระเบียบการแต่งกายพวกนี้ มีบอกในอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว แต่การไปสอบต้องเอาอุปกรณ์อะไรไปบ้าง ทางคณะไม่ได้บอกครับ
สิ่งที่ต้องเตรียมไป
1. เครื่องคิดเลข แบบวิทยาศาสตร์ : (มีฟังก์ชั่น ยกกำลัง ถอดรูท ฯลฯ) แต่ไม่ควรเอาถึงขนาดเขียนโปรแกรมได้ไปนะครับ อาจไม่ให้เอาเข้าห้องสอบได้ เพราะตอนเข้าห้องสอบ กรรมการคุมสอบบอกว่า ไม่ให้เครื่องที่เขียนโปรแกรมได้เข้าไป
2. ปากกา - ดินสอ - ยางลบ : ถึงกรรมการคุมสอบจะบอกว่า ใช้ปากกาทำก็ได้ แต่เชื่อผมเถอะ ดินสอดีกว่า เพราะเราคงทำๆ ลบ ๆ อยู่นั้นแหละ
3. นาฬิกาข้อมือ : อันนี้ส่วนตัวผมเอง เพราะห้องที่ผมสอบ ไม่มีนาฬิกาครับ! ไม่รู้ว่าผ่านไปแล้วกี่นาที ไม่มีประกาศบอกเวลาด้วย บอกอีกทีตอน เหลือเวลาอีก 5 นาที อะไรประมาณนี้เลยครับ อ้อ! โทรศัพท์มือถือก็ให้ปิดนะครับ ไม่ควรเอาออกมาดูเวลา อาจโดนทุจริตในการสอบได้นะครับ
ที่คิด ๆ ได้ก็ประมาณนี้แหละครับ
ปล. Close Book นะครับ
แนวข้อสอบ : วันที่ผมสอบ จะเป็นวิธีทำล้วนเลยครับ ข้อนึงแสดงวิธีทำเต็มหน้ากระดาษ A4 เลยครับ วันของผมสอบมี 6 ข้อ ผมขอบอกว่า ผมทำไม่ทันนะครับ T_T" ความรู้หลายอย่างมันไม่ได้ใช้เลยเกือบสิบปี ผมก็ต้องมานั่งย้อนคิดระลึกชาติแต่ละข้อนานหน่อย แนวข้อสอบที่ผมเจอจะเป็นดังนี้ครับ
1. Calculus ครับ ดูเรื่อง Diff กับ Integral มาดี ๆ โจทย์ให้ Integral โชว์ เยอะหน่อย พยายามอย่าผิด มีลูกเล่นหลอกล่อนิดหน่อย แต่ไม่ได้ล้ำลึกมาก เป็นแบบพื้นฐาน ๆ แต่ถ้าไม่ได้อ่านไปล่ะ ลืมแน่ครับ
2.เรื่องความเค้น หาความเค้นของวัตถุจากรูปที่กำหนดให้ ที่รับแรงตามรูป ดูเรื่อง Free Body Diagram มาดี ๆ และเรื่องหน่วยด้วยครับ ต้องแปลงหน่วย โจทย์ไม่บอกด้วยว่าหน่วยอะไรแปลงเป็นอะไร ต้องรู้มาเอง พวก MPa , mm. อะไรพวกนี้ แปลงหน่วยพื้นที่ กับหน่วยเชิงเส้น จาก cm. เป็น m. ไม่เหมือนกัน อาจผิดได้ถ้าไม่ระวัง
3. Indeterminate Structure ครับ ของผมเจอคือให้ Indeterminate Structure เปล่า ๆ มา แล้วถามว่าให้วาง Piont Load ตรงไหน ถึงจะเกิด โมเมนต์บวก , ลบ มากที่สุด ดูเรื่องนี้มาดี ๆ ครับ
4.หา Normal Stress , Shering Stress , Principal Stress , Maximum Shear ของหน้าตัดที่รับแรงตามรูปที่โจทย์บอกครับ
5.ออกแบบเสาเหล็ก คานเหล็ก อันนี้ไม่ยาก อ่านมาดีๆ โจทย์มีสูตรมาให้ด้วย แต่มีสูตรหลอกที่ไม่ใช้บ้าง อย่ามั่วละกัน และสูตรไม่ได้บอกด้วยว่าต้องเอาหน่วยอะไรใส่เข้าไป ต้องแม่นเรื่องหน่วยด้วยนะครับ ของผมคือ ASD... และที่สำคัญ พวกค่าพื้นฐานเช่น ค่า E ของเหล็ก ต้องจำมาเองนะ โจทย์ไม่บอก (แต่ปีอื่นอาจเป็นคอนกรีตก็ได้นะครับ เพราะฉะนั้น อ่านเรื่องการออกแบบมาให้หมดเถอะ ทั้งเหล็กและคอนกรีต)
6. Concrete Mix Design .... เหมือนเดิม เรื่องหน่วยสำคัญ.. ปาสคาล , ปอนด์ , นิ้ว อะไรพวกนี้ ดูมาด้วย เพราะคุณอาจจะเจอมัน!
7. แถมครับ... วันก่อน เพื่อนผมคนนึง Facebook มาหาผมหลังจากผมสอบเสร็จแล้ว เขาเจอให้หาโมเมนต์ในIndeterminate Structure และวาด BMD , SFD แต่ไม่กำหนดวิธี ดังนั้นเขาจึงใช้ Moment Distribution วิธีสุดยอด อยู่ในป่า ขาดน้ำไฟ ยังทำได้!
ประมาณนี้แหละครับ ที่อยากจะบอก อ่านมาให้ดี อ่านให้เต็มที่ สู้ ๆ นะครับทุกท่าน!!
ปล. สำหรับคนต่างจังหวัด (เหมือนผม) จะมาสอบง่าย ๆ ที่สุดคือ ลงรถไฟฟ้าใต้ดิน มาที่สถานีสามย่าน ถ้าจำไม่ผิดใช้ทางออกหมายเลข 2 (ถ้าจำไม่ผิดนะ! เพราะเคยไปแค่สองครั้งอยู่เลย) มันจะโผล่ที่จามจุรีสแควร์ ซึ่งมีทางเดินเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เลย เข้าไปตามทางเดินสักพัก จะมีแผนที่บอกทาง ไม่หลงแน่ครับ!
ปล.2 ติดตามข่าวสมัครสอบปริญญาโท จุฬาฯ ได้ที่ http://www.grad.chula.ac.th/
ปล.3 คุณสมบัติผู้สมัครสอบ ต้องสอบ CU-TEP ก่อน คะแนนต้องเกิน 40 นะครับ (ไม่ยากๆ มันเต็มตั้ง 120 แน่ะ) เอาคะแนน CU-TEB ไปยื่นวันสมัครสอบหรือวันรายงานตัว ไม่งั้น ต่อให้สอบผ่านก็อดเรียนนะครับ สอบไว้เนิ่น ๆ เป็นดี
หมายเหตุ : รูปภาพไม่เกี่ยวกับเนื้อหา แค่เอามาแปะให้มันไม่ดูมีแต่ตัวหนังสือ ฮ่าๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น