สวัสดีครับเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกท่าน ช่วงนี้หลายท่านคงประสบปัญหาภัยน้ำท่วม (ผมก็หนึ่งในนั้น) งานการก็เดินไม่ค่อยได้ นัดหมายงานหลายอย่างไว้ ถ้าผมเดินทางไม่ได้ บุคคลที่ผมนัด(หรือนัดผม) ก็เป็นฝ่ายเดินทางไม่ได้ เสียหายไปตาม ๆ กัน เฮ้อ เหนื่อย...
แต่ไม่เป็นไรครับ ชีวิตเราก็แบบนี้แหละ เราต้องสู้ไป อย่ายอมแพ้! ซึ่งก็ขอเป็นกำลังใจให้ท่าฝ่าฟันอุปสรรคและขอให้ทุกท่านปลอดภัย ผ่านพ้นเหตุการณ์ครั้งนี้ไปด้วยดีครับ
สำหรับวันนี้เรื่องราวที่นำมาฝากกันคือ แบบแปลน บ้านลอยน้ำ แนวคิดจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สำหรับวันนี้เรื่องราวที่นำมาฝากกันคือ แบบแปลน บ้านลอยน้ำ แนวคิดจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก กรมโยธาธิการและผังเมือง และ portfolios.net
สถานการณ์น้ำท่วมยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และกำลังกระจายเข้าสู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ก่อให้เกิดความเสียหายนานับประการ ทั้งด้านทรัพย์สิน และด้านจิตใจ ทั้งนี้ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะป้องกันภัยแก่ประชาชนดังกล่าว จึงได้ศึกษาหาข้อมูลทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อให้เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมที่ยากจะแก้ไขในปัจจุบัน และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบปัญหาดังกล่าว
โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง และได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ "บ้านลอยน้ำ" ดังนั้นทางกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้จาก "บ้านลอยน้ำท่าขนอน" ซึ่งบ้านลอยน้ำท่าขนอน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ โดยบ้านลอยน้ำนั้นมีลักษณะเป็นเรือนแพ ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อถึงเวลาน้ำท่วม ตัวบ้านก็จะลอยขึ้นตามระดับน้ำ และมีการยึดตัวบ้านเอาไว้กับเสาหลักเพื่อป้องกับการโคลงตัว หรือลอยไปตามกระแสน้ำ จากนั้นพอเวลาน้ำลดลง บ้านก็จะกลับมาตั้งตัวอยู่บนพื้นดินเหมือนเดิม
สำหรับขนาดของบ้านลอยน้ำ การออกแบบนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัสดุที่มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังก่อสร้างได้ง่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านช่างในระดับทั่วไปก็สามารถก่อสร้างเองได้
ส่วน บ้านที่เห็นในภาพตัวอย่าง มีขนาดพื้นที่รวมประมาณ 60 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกัน โดยใช้สะพานทางเชื่อมพาดระหว่างชานรอบตัวบ้าน ส่วน ราคาค่าใช้จ่าย ถ้าสร้างเองจะมีราคาประมาณหลังละ 719,000 บาท แต่ถ้าหากจ้างเหมาราคา หลังละ 915,000 บาท เนื่องจากต้องมีการคิดค่าดำเนินการ กำไรและภาษีด้วย
อย่างไรก็ตาม แบบบ้านลอยน้ำของกรมโยธาธิการและผังเมืองนี้ หวังว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ ต้องอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ประสบภัยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม ซึ่งอาจจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบและพื้นที่ใช้สอยให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องต่อความต้องการต่อไป
ขนาดพื้นที่
ประมาณ 60 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23 ตารางเมตร ส่วนทำอาหารห้องน้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร
ราคาค่าก่อสร้าง
โดยประมาณ 719,000 บาท (กรณีปลูกสร้างเอง) ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้างเหมาและประมาณ 915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา)
วัสดุก่อสร้าง
ใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด ซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ทุ่นลอยเป็นถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร หรือถังไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการความทนทานเพิ่มขึ้น
ระบบสุขาภิบาล
ใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ EM ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล
โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง และได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ "บ้านลอยน้ำ" ดังนั้นทางกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้จาก "บ้านลอยน้ำท่าขนอน" ซึ่งบ้านลอยน้ำท่าขนอน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ โดยบ้านลอยน้ำนั้นมีลักษณะเป็นเรือนแพ ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อถึงเวลาน้ำท่วม ตัวบ้านก็จะลอยขึ้นตามระดับน้ำ และมีการยึดตัวบ้านเอาไว้กับเสาหลักเพื่อป้องกับการโคลงตัว หรือลอยไปตามกระแสน้ำ จากนั้นพอเวลาน้ำลดลง บ้านก็จะกลับมาตั้งตัวอยู่บนพื้นดินเหมือนเดิม
สำหรับขนาดของบ้านลอยน้ำ การออกแบบนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัสดุที่มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังก่อสร้างได้ง่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านช่างในระดับทั่วไปก็สามารถก่อสร้างเองได้
รูปด้านหลัง
รูปด้านซ้าย
รูปด้านขวา
รูปด้านหน้า
รูปด้านใน
รูปด้านล่าง
รูปด้านซ้าย
รูปด้านขวา
รูปด้านหน้า
รูปด้านใน
รูปด้านล่าง
ส่วน บ้านที่เห็นในภาพตัวอย่าง มีขนาดพื้นที่รวมประมาณ 60 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกัน โดยใช้สะพานทางเชื่อมพาดระหว่างชานรอบตัวบ้าน ส่วน ราคาค่าใช้จ่าย ถ้าสร้างเองจะมีราคาประมาณหลังละ 719,000 บาท แต่ถ้าหากจ้างเหมาราคา หลังละ 915,000 บาท เนื่องจากต้องมีการคิดค่าดำเนินการ กำไรและภาษีด้วย
อย่างไรก็ตาม แบบบ้านลอยน้ำของกรมโยธาธิการและผังเมืองนี้ หวังว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ ต้องอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ประสบภัยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม ซึ่งอาจจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบและพื้นที่ใช้สอยให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องต่อความต้องการต่อไป
แบบแปลนบ้านลอยน้ำ
ขนาดพื้นที่
ประมาณ 60 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23 ตารางเมตร ส่วนทำอาหารห้องน้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร
ราคาค่าก่อสร้าง
โดยประมาณ 719,000 บาท (กรณีปลูกสร้างเอง) ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้างเหมาและประมาณ 915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา)
วัสดุก่อสร้าง
ใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด ซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ทุ่นลอยเป็นถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร หรือถังไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการความทนทานเพิ่มขึ้น
ระบบสุขาภิบาล
ใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ EM ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล
---------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น