สวัสดีครับพี่ ๆ น้อง ๆ วันนี้ผมมีเรื่อง
มานำเสนออีกหนึ่งเรื่อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับ
เหล็กเส้นในงานก่อสร้างที่ผมพบเจอเมื่อไม่นานมานี้
เกี่ยวกับชั้นคุณภาพเหล็กที่ชื่อเจ้า SD40T
อย่างที่ทราบกันดีว่าเหล็กเส้นที่ใช้ในงานก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมี
ชั้นคุณภาพ SR24 , SD30 , SD40 , SD 50
ซึ่งผมได้เคยกล่าวถึงในหัวข้อ เกี่ยวกับวัสดุ ว่าด้วยเรื่องเหล็กเส้น
มานำเสนออีกหนึ่งเรื่อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับ
เหล็กเส้นในงานก่อสร้างที่ผมพบเจอเมื่อไม่นานมานี้
เกี่ยวกับชั้นคุณภาพเหล็กที่ชื่อเจ้า SD40T
อย่างที่ทราบกันดีว่าเหล็กเส้นที่ใช้ในงานก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมี
ชั้นคุณภาพ SR24 , SD30 , SD40 , SD 50
ซึ่งผมได้เคยกล่าวถึงในหัวข้อ เกี่ยวกับวัสดุ ว่าด้วยเรื่องเหล็กเส้น
แต่เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมสั่งเหล็กเส้นเขามาที่หน้าไซต์งาน
(น้ำหนักรวมประมาณ 30 ตัน) โดยที่ผมสั่งเหล็กกลมชั้นคุณภาพ SR24
และเหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD40
(น้ำหนักรวมประมาณ 30 ตัน) โดยที่ผมสั่งเหล็กกลมชั้นคุณภาพ SR24
และเหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD40
(คลุมเหล็กด้วยผ้าใบเพื่อกันฝน และ รองด้วยเสาคอนกรีตหนา 18 cm.วางตามแนวนอนเป็นช่วงๆ)
เมื่อเหล็กมาถึง ผมก็ทำการตรวจเหล็กที่ส่งเข้ามาว่า
ตรงกับที่สั่งหรือไม่ ปรากฎว่า มันปั้มติดข้างเหล็กว่า SD40T
แทนที่จะเป็น SD40 ตามที่สั่ง
(เผอิญว่าครั้งนี้ผมไม่ได้เป็นคนสั่งเหล็กเอง เลยไม่ทราบว่าเค้าคุยกันยังไงถึงเหล็กออกมาเป็นตัวนี้)
ตรงกับที่สั่งหรือไม่ ปรากฎว่า มันปั้มติดข้างเหล็กว่า SD40T
แทนที่จะเป็น SD40 ตามที่สั่ง
(เผอิญว่าครั้งนี้ผมไม่ได้เป็นคนสั่งเหล็กเอง เลยไม่ทราบว่าเค้าคุยกันยังไงถึงเหล็กออกมาเป็นตัวนี้)
แล้วเรื่องมันก็ไม่จบง่าย ๆ แบบที่ทำเป็นหลับหูหลับตาไม่เห็นเจ้าตัว "T"
ซึ่งผมก็เหมือนกันว่ามันคืออะไร แน่นอนแหละครับ ผมก็ได้รับคำสั่งให้หา
'คำตอบ' ว่าเจ้าเหล็ก SD40T มันต่างจาก SD40 อย่างไร
ไม่อยากจะพูดเลยว่า สมัยผมเรียนผมก็ไม่เคยได้ยินเรื่องตัว T และจนทุกวันนี้
ผมก็อยากรู้ว่าตัวเองเป็นกบในกะลาหรือเปล่า ทำไมผมไม่รู้ว่ามันคืออะไร?
แต่ผมยังชื้นใจอยู่นิดหน่อยที่วิศวกรที่ทำงานกับผม 3-4 คน ก็ไม่มีใครรู้เลยว่าเจ้าตัว 'T' นี้
มันคืออะไร มีทีไม่มีที ต่างกันอย่างไร?
ซึ่งผมก็เหมือนกันว่ามันคืออะไร แน่นอนแหละครับ ผมก็ได้รับคำสั่งให้หา
'คำตอบ' ว่าเจ้าเหล็ก SD40T มันต่างจาก SD40 อย่างไร
ไม่อยากจะพูดเลยว่า สมัยผมเรียนผมก็ไม่เคยได้ยินเรื่องตัว T และจนทุกวันนี้
ผมก็อยากรู้ว่าตัวเองเป็นกบในกะลาหรือเปล่า ทำไมผมไม่รู้ว่ามันคืออะไร?
แต่ผมยังชื้นใจอยู่นิดหน่อยที่วิศวกรที่ทำงานกับผม 3-4 คน ก็ไม่มีใครรู้เลยว่าเจ้าตัว 'T' นี้
มันคืออะไร มีทีไม่มีที ต่างกันอย่างไร?
ปัญหามันมีอีกคือ เจ้าของตึกที่ผมจะสร้างโดยใช้เหล็กเส้นนั้น ไม่ยอมรับ SD40T
เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ต่างจาก SD40 อย่างไร เพราะในแบบมันระบุว่าใช้ SD40 ในการก่อสร้าง
หาใช่ SD40T ไม่ (ลองคิดดูว่าเหล็ก กก. ละกี่บาท ผมสั่งมา 30 ตัน ต้องจ่าย เอ๊ย!
จ่ายไปแล้ว เท่าไหร่ เพื่อซื้อเจ้าเหล็กเจ้าปัญหานี้มา)
เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ต่างจาก SD40 อย่างไร เพราะในแบบมันระบุว่าใช้ SD40 ในการก่อสร้าง
หาใช่ SD40T ไม่ (ลองคิดดูว่าเหล็ก กก. ละกี่บาท ผมสั่งมา 30 ตัน ต้องจ่าย เอ๊ย!
จ่ายไปแล้ว เท่าไหร่ เพื่อซื้อเจ้าเหล็กเจ้าปัญหานี้มา)
แน่นอนว่าเริ่มแรกเมื่อใดที่ผมมีคำถามอะไร ผมก็จะถามลูกพี่กูเกิ้ล
ผู้รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ ซึ่งผมก็พบคำตอบส่วนหนึ่งว่า
เจ้า T นี่คืออะไร ในมาตรฐาน มอก.24 - 2548 : เหล็กเสริมคอนกรีต เหล็กข้ออ้อย
ในข้อที่ 7.1(4) และ 7.2(4) ครับ
ผู้รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ ซึ่งผมก็พบคำตอบส่วนหนึ่งว่า
เจ้า T นี่คืออะไร ในมาตรฐาน มอก.24 - 2548 : เหล็กเสริมคอนกรีต เหล็กข้ออ้อย
ในข้อที่ 7.1(4) และ 7.2(4) ครับ
ข้างล่างนี้จะเป็นเนื้อหาที่ผมตัดมาจากหนังสือ มอก.24-2548
ข้อมูลที่ได้บอกเพียงว่า เป็นเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนระหว่างการผลิต แล้วมันช่วยผมตอบคำถามหรือทำให้เจ้าของอาคารสบายใจขึ้นไหม? คำตอบคือ 'ไม่' ครับ ผมบอกเท่านตามข้อมูลที่หามาได้ ท่านก็ไม่รู้เรื่องหรือเข้าใจว่ามันต่างกันอย่างไร ถึงแม้จะบอกว่าเป็นเหล็กที่มี มอก. รองรับก็ตาม
เจ้าของอาคารและคนอื่น ๆ เขาต้องการรู้แค่ว่า "มันแข็งแรงพอไหม?" ก็เท่านั้นแหละ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ผมต้องแก้ปัญหาต่อไป ถามพี่กูเกิ้ลก็มีคำตอบมาได้บ้างเกี่ยวกับการทนไฟไหม้ ที่เขียนว่า SD40T จะทนไฟไหม้ได้น้อยกว่า SD40 ซึ่งผมยังหาเอกสารทางวิชาการรองรับแบบตรงๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ได้ (ซึ่งผมหาไม่เจอ หรือเธอไม่มี ก็ไม่ทราบ ถ้าใครพบก็บอกด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูง) และตามความเข้าใจของผม เรื่องการทนไฟไหม้มันอยู่ที่คอนกรีตไม่ใช่เหรอ? (หากความเข้าใจผมผิดก็แย้งได้นะครับ ผมจะได้รู้และแก้ไขด้วย)
เอกสารต่าง ๆ ผมยังค้นไม่เจอจริง ๆ ผมพบแต่ไฟล์รูปที่ตัดแปะจากหนังสือประกอบการสัมนาเรื่องวิศวกรรมการแก้ไขและการรื้อถอนอาคาร จัดโดย คณะอนุกรรมการหน่วยเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส่วนตัวเอกสารจริง ๆ ผมหาไม่เจอ ใครพบแล้วบอกด้วย)
ยัง! เรื่องยังไม่จบแค่นั้น! ไม่ว่าจะ อ้างอิง มอก. หรือมาตรฐานอะไร คนธรรมดา ๆ เค้าแค่อยากรู้ว่า มันแข็งแรงหรือเปล่า ความแข็งแรงเท่ากับชั้นคุณภาพ SD40 ตามที่วิศวกร ระบุในแบบหรือไม่!
ผมจึงนำเหล็ก SD40T ดังกล่าวไปทดสอบความที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้ผลดังนี้
ผมจึงนำเหล็ก SD40T ดังกล่าวไปทดสอบความที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้ผลดังนี้
จากตารางผลการทดสอบก็จะบอกถึง น้ำหนัก , จุดคราก , จุดประลัย และความยืดขั้นต่ำของเหล็กเส้น ซึ่งค่าต่าง ๆ เราสามารถนำไปเทียบในมาตรฐาน มอก. ได้
หมายเหตุเล็ก ๆ : จริง ๆ แล้ว SD40T เป็นเหล็กข้ออ้อย ไม่มีในเหล็กกลมนะครับ (เหล็กกลมจะเป็น SR24) แต่ผลการทดสอบมีเหล็กกลมด้วยนั้น เพราะไหน ๆ ก็ทดสอบแล้ว ผมก็ตัดเหล็กกลมที่ผมมีเข้าทดสอบด้วยเลยครับซึ่งมันไม่เกี่ยวกับ SD40T ครับ
เช่น น้ำหนักเหล็กกลมเราสามารถตรวจสอบจาก มอก.20-2543 ข้อที่ 4.2
น้ำหนักเหล็กข้ออ้อย ก็ตรวจสอบจาก มอก. 24-2548 ข้อที่ 4.2
สมบัติทางกล จุดคราก จุดประลัย และความยืด ของเหล็กกลมเราสามารถตรวจสอบจาก มอก.20-2543 ข้อที่ 6.2
สมบัติทางกล จุดคราก ตุดประลัย และความยืด ของเหล็กข้ออ้อย ก็ตรวจสอบจาก มอก. 24-2548 ข้อที่ 6.3
จากผลทดสอบที่ออกมาและไปเทียบกับมาตรฐานมอก. ก็พบว่าเหล็ก SD40T มีความแข็งแรงผ่านมาตรฐานทุกอย่างเหมือน SD40 ทั้งน้ำหนักและคุณสมบัติทางกลครับ พูดง่ายๆคือ SD40T มีความแข็งแรงเท่า SD40 ครับ (ความแข็งแรงในที่นี้ สำหรับเหล็ก เราดูที่ความสามารถในการรับแรงดึงเป็นหลักครับ หรือพูดง่ายๆ อีกว่า เหล็กแข็งแรงไม่แข็งแรง เราดูที่ว่าเราต้องใช้แรงเท่าไหร่ดึงมันถึงจะขาด แล้วนำแรงนั้นไปเทียบกับมาตรฐาน ซึ่งจะมีกำหนดแรงขั้นต่ำไว้ว่า เหล็กจะขาดได้ต้องใช้แรงไม่น้อยกว่าเท่านั้นเท่านี้ นั่นแหละครับ)
แม้ข้อมูลที่ผมหามาข้างต้นอาจจะยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นัก แต่ข้อมูลเพียงเท่านี้ก็ทำให้เจ้าของอาคาร(ที่ผมสร้าง)พอใจและมั่นใจในตัวเหล็ก SD40T แล้วครับ..
หากข้อมูลผิดพลาดประการใด หรือใครมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ทำให้ละเอียดยิ่งขึ้น ก็โพสบอกกันบ้างนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูง ผมจะได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้นและจะได้แก้ไขต่อไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น